วันอาทิตย์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2555


การตอบสนองของพืช


การตอบสนองของพืชต่อสิ่งแวดล้อม
1. การเคลื่อนไหวเนื่องจากการเจริญเติบโต (growth movement)
- การตอบสนองต่อสิ่งเร้าภายนอก (paratonic movement หรือ stimulus movement)
- การตอบสนองที่เกิดจากสิ่งเร้าภายใน (autonomic movement)
2.การเคลื่อนไหวเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงแรงดันเต่ง (turgor movement)
3. การตอบสนองของพืชต่อสารควบคุมการเจริญเติบโต

การเคลื่อนไหวที่เกิดเนื่องจากการเจริญเติบโต (growth movement)
1. การตอบสนองที่เกิดจากสิ่งเร้าภายนอก (paratonic movement หรือstimulus movement) มี 2 แบบคือ
1.1 แบบมีทิศทางเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับสิ่งเร้า (tropism หรือ tropic movement)การตอบสนองแบบนี้อาจจะทำให้ส่วนของพืชโค้งเข้าหาสิ่งเร้าเรียกว่า positive tropismหรือเคลื่อนที่หนีสิ่งเร้าที่มากระตุ้นเรียกว่าnegative tropism จำแนกได้ตามชนิดของสิ่งเร้าดังนี้

1.1.1 โฟโททรอปิซึม (phototropism) เป็นการตอบสนองของพืชที่ตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่เป็นแสงพบว่าที่ปลายยอดพืช (ลำต้น) มีทิศทางการเจริญเติบโตเจริญเข้าหาแสงสว่าง (positive phototropism) ส่วนที่ปลายรากจะมีทิศทางการเจริญเติบโตหนีจากแสงสว่าง (negative phototropism)

1.1.2 จีโอทรอปิซึม (geotropism) เป็นการตอบสนองของพืชที่ตอบสนองต่อแรงโน้มถ่วงของโลกโดยรากพืชจะเจริญเข้าหาแรงโน้มถ่วงของโลก (positive geotropism)เพื่อรับน้ำและแร่ธาตุจากดิน ส่วนปลายยอดพืช (ลำต้น) จะเจริญเติบโตในทิศทางตรงข้ามกับแรงโน้มถ่วงของโลก (negative geotropism)เพื่อชูใบรับแสงสว่าง

1.1.3 เคมอทรอปิซึม (chemotropism)เป็นการตอบสนองของพืชโดยการเจริญเข้าหาหรือหนีจากสารเคมีบางอย่างที่เป็นสิ่งเร้าเช่นการงอกของหลอดละอองเรณูไปยังรังไข่ของพืชโดยมีสารเคมีบางอย่างเป็นสิ่งเร้า


1.1.4 ไฮโดรทรอปิซึม (hydrotropism) เป็นการตอบสนองของพืชที่ตอบสนองต่อความชื้น ซึ่งรากของพืชจะงอกไปสู่ที่มีความชื้น

1.1.5 ทิกมอทรอปิซึม (thigmotropism) เป็นการตอบสนองของพืชบางชนิดที่ตอบสนองต่อการสัมผัสเช่น การเจริญของมือเกาะ (tendril)ซึ่งเป็นโครงสร้างที่ยื่นออกไปพันหลักหรือเกาะบนต้นไม้อื่นหรือพืชพวกที่ลำต้นแบบเลื้อยจะพันหลักในลักษณะบิดลำต้นไปรอบๆเป็นเกลียว เช่น ต้นตำลึง ต้นพลู ต้นองุ่น ต้นพริกไทย เป็นต้น

 ที่มา